กรณีศึกษา-การวางแผนภาษีธุรกิจขายกระเป๋าแบรนด์เนม

มีลูกค้าติดต่อพี่เก่ง ปรึกษาเรื่องการวางแผนภาษีธุรกิจขายกระเป๋าแบรนด์เนม ลูกค้ามีการเปิดบริษัท และจดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว แต่จะมีการดำเนินธุรกิจบางส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบบุคคลธรรมดา พี่เก่งให้คำแนะนำด้านการวางแผนภาษีกรณีนี้อย่างไร?
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้จากคลิปนี้ได้เลย

ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

 

เนื้อหาประกอบคลิปบรรยาย

รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม

มีลูกค้าท่านหนึ่งโทรมาปรึกษาเก่ง น้องเล่าให้ฟังว่าทำธุรกิจขายกระเป๋าแบรนด์เนม แล้วก็มีความกังวลเรื่องของรายรับ – รายจ่าย เข้าออก บัญชีค่อนข้างจะเยอะ

น้องก็เล่าให้ฟังว่าน้องมีการเปิดบริษัทขึ้นมา 1 บริษัท เมื่อประมาณ ปี-สองปีที่แล้ว และก็มีการจดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ทีนี้เรื่องราวนั้นมีความซับซ้อนกว่านั้นเนื่องจากว่าตอนที่น้องเขาเอารายได้เข้าบริษัท ตอนที่มีการซื้อขายกระเป๋า ก็น้องเขาจะมีการให้ลูกค้าเวลาขายกระเป๋าได้ ก็จะโอนเงินเข้าบัญชีของกรรมการก่อน หลังจากนั้นก็มาดูว่าทุกสิ้นเดือน มาดูว่าจะโอนรายได้ส่วนไหนเข้าบริษัทบ้างเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เนื่องจากน้องมีความกังวลเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะว่าถ้าเอายอดขายเข้าทั้งหมดในนามของบริษัทก็จะทำให้มีภาษีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างจะเยอะ เนื่องจากธุรกิจขายกระเป๋าแบรนด์เนมเวลาเราซื้อกระเป๋าลูกค้าเข้ามา ตัวด้านฝั่งซื้อค่ะจะไม่มีเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อเลยเนื่องจากเราซื้อจากบุคคลคนธรรมดา (ที่ไม่ได้จดเข้า VAT) แต่ตอนที่เราขายออกไป ธุรกิจของบริษัทน้องมีการจดเข้า VAT แล้วทุกครั้งของการขาย ต้องมีการนำส่งภาษีขายด้วย
ดังนั้นในเรื่องการนำส่งภาษีขาย ต้องมีการนำส่งรายได้ 7% จากยอดของรายได้ทั้งหมดเลย ถ้าสมมุติว่ารายได้หนึ่งล้านบาท น้องก็ต้องเอา 7% คูณกับรายได้ และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยจำนวนเงินประมาณ 7 หมื่นบาท ซึ่งไม่มีภาษีซื้อไปหัก ลักษณะนี้น้องก็เลยใช้วิธีการให้ลูกค้า โอนเงินเข้าบัญชีของตัวเองก่อนแล้วก็คอยดูว่าแต่ละเดือนะจะรับรู้รายได้ในฝั่งบริษัทเท่าไหร่ซึ่งลักษณะแบบนี้พี่เก่งดูแล้ว จะทำให้เรื่องของความเสี่ยงเรื่องภาษีมากขึ้น

ในการทำงานน้องก็มีการทำเพจขึ้นมานะคะเพื่อจะเป็นการที่จะหาลูกค้าจากเพจแล้วก็มีการจ่ายค่าโฆษณา Facebook เดือนหนึ่งก็หลายบาทอยู่ แล้วก็ในเรื่องทีมงานหลังบ้านทั้งเซลล์ขาย แล้วก็น้องแอดมิน น้องธุรการก็มีอยู่ประมาณ สัก 5-6 คน
ทีนี้ในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผ่านมาน้องเองก็ในเรื่องของรายได้ที่พี่เก่งเล่าให้ฟัง มีการจัดสรรเรื่องตัวเลข ในฝั่งค่าใช้จ่ายของบริษัทเอง ก็ไม่ค่อยได้เอาเข้าบริษัททั้งหมด เรื่องของเงินเข้าเงินออกจะเดินในฝั่งของบัญชีกรรมการส่วนใหญ่โดยบัญชีกรรมการ น้องก็มีการเปิดบัญชีหลายธนาคาร หลายบัญชี ซึ่งทำให้ในเรื่องของความเสี่ยงเรื่องของ (e-payment) กรณีที่สรรพากรจะทราบข้อมูลของน้องได้ เนื่องจากว่ากฎหมาย (e-payment)

บัญชีที่จะถูกส่งข้อมูลนั้นเป็นได้ทั้งของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
2.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป
และจากเงื่อนไขข้อ 1 นั้น หากบัญชีเรามียอดรายการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป ไม่ว่ายอดเงินจะเท่าไหร่ก็จะถูกนำส่งข้อมูล ส่วนเงื่อนไขข้อ 2 นั้น จะต้องประกอบกัน 2 อย่าง คือ มียอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปถึงจะถูกนำส่งข้อมูล

ซึ่งกรณีนี้ก็จะมีความเสี่ยงทั้งฝั่งกรรมการ และก็บัญชี ภาษีของฝั่งบริษัท เคสนี้พี่เก่งก็ฟังข้อมูลจากน้องที่เล่าให้ฟังทั้งหมด แล้วก็มีการแนะนำไปประมาณสามประเด็น
อีกนิดหนึ่งลืมเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ปัจจุบันในกระเป๋าที่ Stock ของน้องที่ยังไม่ได้เข้าในนามบริษัท น้องมีกระเป๋า ที่เป็น Stock ซึ่งอยู่นอกบัญชีซึ่งก็เป็นตัวเลขที่มีสาระสำคัญ

พี่เก่งก็ได้แนะนำน้องประมาณสามประเด็น

ประเด็นแรก

เราต้องทำสัญญาฝากขายกับทางลูกค้าเราพอเมื่อไหร่เราขายสินค้าได้แล้วเราค่อยนำส่ง
1.ทุกครั้งของการขาย การจับคู่รายได้ และรายจ่ายจะต้องมีการทำสัญญาฝากขายกันเกิดขึ้น
2.เรื่องของกระแสเงินสดก็ต้องมีการเอาเงินเข้า-เงินออกให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าเมื่อในอดีต ซึ่งอันนี้เองก็ต้องจัดการเรื่องระบบหลังบ้านให้ดีขึ้น

ประเด็นที่สอง

เรื่องสต๊อก (Stock) ลูกค้ามีมูลค่า Stock ค่อนข้างจะเยอะก็อยากจะทำมันถูกต้อง พี่เก่งแนะนำว่าให้เอาทยอยเข้านะคะเนื่องจากมูลค่าสินค้าเยอะการที่จะต้องมีการซื้อเข้ามาในฝั่งบริษัทเอง ก็จะต้องใช้เงินสดจำนวนมาก พี่เก่งก็แนะนำว่ากรณี Stock สินค้าถ้าเดือนนั้นมีการขายกระเป๋าที่เป็นสินค้าเก่าก็ให้ค่อยๆ ทยอยรับรู้ทยอยซื้อจากกรรมการเข้ามาเพื่อให้เงินสดจะไม่ค่อยติดขัด และทำให้ flow ของเอกสารมีความคล่องตัวมากขึ้น

ประเด็นที่สาม

เรื่องของฝั่งค่าใช้จ่ายพี่เก่งได้มีการแนะนำน้องว่า ให้น้องตั้งเรื่องของตัวเงินเดือนกรรมการ เพราะว่ากรรมการเองก็มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวข้างจะเยอะ ก็ให้น้องตั้งเงินเดือนกรรมการทั้งสองท่าน แล้วก็ให้เอาเงินเดือนของพนักงานทั้งหมดเข้าในรูปของบริษัทและก็ทำในเรื่องของประกันสังคมให้ถูกต้องด้วย
ในเรื่องของค่าโฆษณา Facebook เรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการที่จะต้องจ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ค่านายหน้า เรื่องของค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน รวมถึงกระทั่งเรื่องของการใช้จ่ายในออฟฟิศต่างๆ ให้เปิดบิลในนามบริษัทเพื่อจะให้ทางบริษัทเอง มีค่าใช้จ่ายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วเรื่องของการตั้งค่าเช่าออฟฟิศ การตั้งค่าเช่ารถจากกรรมการ ก็ต้องให้มีการวางแผนด้วยนะคะ เนื่องจากธุรกิจมีกำไรค่อนข้างจะเยอะ ก็ต้องวางแผน เรื่องค่าใช้จ่ายให้ดีแล้วก็คำนวณเรื่องภาษีวางแผนต่างๆ ให้มีความราบรื่นแล้วก็จะได้สบายใจในเรื่องของฝั่งบริษัท และก็ทางเรื่องของฝั่งกรรมการด้วยนะคะ

พี่เก่งก็ขอสรุปคลิปนี้ไว้เท่านี้ไว้เจอกันในคลิปหน้า ขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ



กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม?
 รับให้คำปรึกษา!

ปรึกษาเรื่องภาษีบัญชีทั่วไป

ปรึกษาฟรี! 3 คำถาม

มากกว่านั้นคิด 5,000 บาท/ชม.

แอดที่ไลน์ id: @kengbunchee

—————————————

ปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีทั้งระบบ

โทรศัพท์: 30,000 บาท/ 2 ชม.

บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วางแผนด้านตัวเลข

…………….*กรณีเป็นเคสภาษีซับซ้อน ของแจ้งราคาเป็นเคสๆ ค่ะ

แอดที่ไลน์ id: @greenprokspacc

โทรศัพท์: 081-648-7459

—————————–

สนใจบริการ ด้านบัญชี ภาษี, จดทะเบียนนิติบุคคล (จดจัดตั้ง จดเปลี่ยนแปลง บริษัท, หจก.)

บริการด้านบัญชี ภาษี โทร: 081-6487459 (พี่เก่ง) LINE ID: @kengbunchee

#บริการด้านจดทะเบียนนิติบุคคล โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp

—————————–

บริการด้านจด VAT, ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ,ขอ VISA,ขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

จดมูลนิธิ,สมาคม, พิโกไฟแนนซ์, วางแผนภาษี “

โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp

—————————–

สนใจคอร์สเรียนภาษี

คอร์สเรียนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่

คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษีทั้งระบบ/

คอร์สเรียน วางแผนภาษี ขายสินค้าออนไลน์

คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษี-ขายสินค้าออนไลน์/

คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (YouTuber)

คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/วางแผนภาษี-ยูทูปเบอร์/

—————————–

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCpsA7YXp8SlteplIJgFgvGw

Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

เว็บไซต์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com