แชร์ประสบการณ์ ถาม-ตอบ ผู้เข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 4

พี่เก่งจะมาแชร์ประสบการณ์ ที่ได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมสัมมนา Exclusive Seminar หัวข้อ Upskill SME Exporters ติดอาวุธใหม่ให้ SME สู่การส่งออก พี่เก่งได้บรรยายในหัวข้อ การอ่านและวิเคราะห์งบการเงิน

มีประเด็นคำถามที่น่าสนใจดังนี้

1.ทำธุรกิจ ซื้อมา-ขายไป ช่วงเริ่มต้นธุรกิจควรจะจดเป็นรูปบริษัทเลยไหม?
2.สมมุติธุรกิจกำลังจะนำเข้าสินค้าจากประเทศอินเดียมาขายที่ไทย และจะทำตลาดไปที่ CLMV ประเทศ: กัมพูชา (Cambodia) ลาว (Laos) เมียนมาร์ (Myanmar) เวียดนาม (Vietnam) ควรจะจดเป็นรูปบริษัทเลยไหม?
3.อะไรบ้าง? ที่เป็นข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ ในการประกอบธุรกิจ หรือในการจัดทำงบการเงินที่ทางพี่เก่งได้พบเจอและเห็นกันมา
4.กรณีที่จดเป็นรูปบริษัท (การพิจารณา) เรื่องทุนจดทะเบียน เรื่องการชำระราคาค่าหุ้น, ราคาหุ้นมีกำหนดขั้นต่ำเท่าไหร่? หรือว่าสูงสุดเท่าไหร่?

รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม สำหรับท่านใดต้องการฟังแบบคลิปบรรยายคลิกลิงก์ https://youtu.be/69pWaSfyigg
หรือรับชมได้จากคลิปด้านล่างบทความนี้

สวัสดีค่ะ พี่เก่งนะคะวันนี้พี่เก่งมีคำถามจากสัมมนาครั้งที่ 4 จัดที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นการจัดงานโดยสามหน่วยงานคือ สสว. EXIM Bank แล้วก็สมาพันธ์ SME ไทย ซึ่งพี่เก่งรับบรรยายในหัวข้อเรื่อง: การอ่านวิเคราะห์งบการเงิน มีคำถามหลายคำถามพี่เก่งจะมาแชร์กับพวกให้ฟัง

คำถามแรกค่ะ ก็เป็นคำถามที่น้องท่านหนึ่งสอบถามว่า

1.เริ่มทำธุรกิจ ซื้อมา-ขายไป (Trading) ช่วงเริ่มต้นธุรกิจควรจะจดเป็นรูปบริษัทเลยไหม?

พี่เก่งได้แนะน้องท่านนี้ไปแบบนี้ว่าในช่วงเริ่มต้นการทำธุรกิจของพวกเราแนะนำควรทำในบุคคลธรรมดาก่อน ค่อยๆ เรียนรู้ค่อยๆ ศึกษานะคะว่า สินค้า (Products) ของเราไปได้ไหมการตลาดไปได้ไหมสามารถขายได้จริงรึเปล่าเราก็มีกำไรจริงรึเปล่านะคะ เพราะว่าถ้าเกิดเราเริ่มทำในช่วงแรกนะคะการทำบัญชีหรือว่าการจัดการภาษีก็จะง่าย

เรามาดูข้อดี: ของการทำธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดาก่อน

1.ในเรื่องของ: รูปแบบการทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย เราไม่ต้องมีทางนักบัญชีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรองให้ โดยที่บุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดไว้ว่าทำบัญชีรับ-จ่ายง่ายๆ นะคะแล้วทำสต๊อกคุมง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องมีใครมาเซ็นรับรองให้เรา

ทีนี้ค่ะพี่เก่งก็แนะนำว่าถึงแม้เราจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ควรจะทำเรื่องรายรับ-รายจ่าย คุมให้ละเอียด โดยที่เก็บรวบรวมบิลทั้งรายรับ-รายจ่ายเราก็ทำเป็นตารางเอ็กเซล หรือว่าจะจดไว้ในสมุดก็ได้ เพื่อให้เรารู้ว่าเรามีกำไรแต่ละเดือนเท่าไหร่ กำไรแต่ละปีเท่าไหร่ก็เอาตัวนี้ไปเสียภาษี แล้วก็ในเรื่องการเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา เราก็สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยยื่นผ่านระบบออนไลน์ของสรรพากรได้ อันนี้ก็ง่ายแล้วก็เลือกใช้วิธีการหักต้นทุนหักค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริงค่ะ

โดยที่ถ้าเราใช้วิธีการหักต้นทุนแบบจ่ายจริงนะคะจะทำให้เราเสียภาษีน้อยลง เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่เลือกวิธีแบบจริงนะคะเราก็สามารถเลือกหักแบบเหมาจ่ายที่ 60% ตามที่สรรพากรให้หลักเกณฑ์มาก็จะทำให้ภาษีค่อนข้างจะสูง พี่เก่งแนะนำว่าควรจะมีวิธีการเรื่องของเก็บเอกสารให้เรียบร้อย ลงบันทึกบัญชี รายรับ-รายจ่าย เป็น Excel หรือจะเป็นสมุดคุมก็ได้นะคะเพื่อให้ได้ตัวเลขเอามาเสียภาษีตามวิธีการหักต้นทุนปัจจัยจริงจะทำให้ภาษีถูกลงนะคะ

อีกอันนึงข้อดีของการทำรูปแบบบุคคลธรรมดา คือเรื่องของการใช้เงินค่ะเราเป็นบุคคลธรรมดาเราก็เป็นเจ้าของธุรกิจเองนะคะการถอนเงินไปใช้เกี่ยวกับชีวิตประจำวันนะคะเช่นใช้ผ่อนรถผ่อนบ้านหรือว่าใช้ชีวิตประจำวันของเรา จ่ายค่าเทอมลูกเอาไปใช้จ่ายต่างๆ ก็จะใช้เงินได้ง่ายกว่า เพราะว่าไม่มีนักบัญชี หรือว่ามีผู้สอบบัญชีมาคอยตรวจสอบเรื่องของการใช้เงินตรงนี้ ก็สามารถที่จะสบายใจเรื่องการเอาเงินไปใช้ได้ เพราะเราเป็นบุคคลธรรมดาธุรกิจของเรา เราก็สามารถใช้เงินได้โดยที่ไม่ต้องดีแคร์ ใครนะคะ แล้วก็ในเรื่องของการทำให้รูปบริษัทนะคะ ก็แนะนำว่าถ้าสมมุติว่าธุรกิจเริ่มไปได้แล้วก็มีกำไรที่มากขึ้นนะคะอาจจะสักประมาณปีหนึ่ง เกือบๆ หนึ่งล้านบาทอย่างนี้ ก็ค่อยจดเป็นรูปบริษัทก็ได้ หรือว่ามีความจำเป็นต้องไปทำสัญญา หรือว่าไปทำธุรกิจกับหุ้นส่วนคนอื่น หรือว่ามีเรื่อง เหตุการณ์ที่ต้องจดเป็นรูปบริษัทก็สามารถทำได้เพียงแต่ว่าก็ต้องวางแผนให้ดีๆ นะคะ

คำถามที่สอง

2.สมมุติธุรกิจกำลังจะนำเข้าสินค้าจากประเทศอินเดียมาขายที่ไทย และจะทำตลาดไปที่ CLMV ประเทศ: กัมพูชา (Cambodia) ลาว (Laos) เมียนมาร์ (Myanmar) เวียดนาม (Vietnam) ควรจะจดเป็นรูปบริษัทเลยไหม?

อันนี้พี่เก่งแนะนำน้องท่านนี้ไปแบบนี้นะคะว่าต้องสอบถาม Supplier ที่อินเดียนะคะว่าสามารถนำเข้าหรือทำธุรกิจร่วมกับเขาในนามของบุคคลธรรมดาได้ไหม ถ้าไม่ได้หรือว่าเขามีเงื่อนไขเกี่ยวกับเรื่องของต้องจดเป็นรูปบริษัทเท่านั้น ก็อาจจะมีความจำเป็นต้องจดเป็นรูปบริษัทแล้วก็นำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายนะคะ

ทีนี้เรื่องเงื่อนไขต่างๆ จะต้องมีการศึกษาแล้วก็ลองดูว่าอันนี้เขาจำกัดอะไรบ้าง แต่ถ้าสมมุติว่าเขาไม่ได้มีเรื่องของตัวเงื่อนไขพวกนี้เรา พี่เก่งก็ยังแนะนำให้บุคคลธรรมดาก่อนนะคะ ถ้าตลาดเริ่มไปได้สามารถขายได้จริงๆ ก็เดี๋ยวค่อยเจอเป็นรูปบริษัทนะคะ

คำถามที่ 3 น้องท่านนี้ถามว่า

อะไรบ้าง? ที่เป็นข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ ในการประกอบธุรกิจ หรือในการจัดทำงบการเงินที่ทางพี่เก่งได้พบเจอและเห็นกันมา

พี่เก่งก็ขอสรุปเป็นข้อๆ อย่างนี้ละกันนะคะจริงๆ มันก็มากกว่านี้เนื่องจากว่าทางพี่เก่งอยู่ในวงการนี้มาก็หลายปีเพราะจะเห็นเรื่องของปัจจัยแรกเลยค่ะเรื่องของการไม่ค่อยมีระเบียบในการใช้เงินหรือว่า ความไม่มีระเบียบวินัยด้านการเงินการบัญชีอันนี้ก็

อันดับแรกๆ ก็คือ

1.ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำธุรกิจ ก็จะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมเอกสารหรือว่าการใช้จ่ายเงินนะคะ เช่น การซื้อสินค้า การจ่ายค่าแรงพนักงาน การจ่ายค่าแรงผู้รับเหมา หรือว่าจ่ายพวกค่าโฆษณาเฟสบุ๊ก ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ พวกเราไม่ค่อยได้เก็บบิลกันไว้นะคะ พอไม่เก็บบิลก็จะใช้วิธีการถอนเงินออกจากบัญชีเพื่อไปจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วพอไม่มีบิลมาลงบันทึกบัญชี ทางนักบัญชีเองก็ลงบัญชีเป็นลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกรรมการนะคะ เสมือนว่ากรรมการถอดเงินไปใช้ส่วนตัวอันนี้เป็นปัญหาของพวกเราทุกคนเลยค่ะเนื่องจากว่า พอไม่มีเอกสารนักบัญชีก็ไม่รู้จะลงบัญชียังไงนะคะเพราะว่าน้องๆ ถอนไปใช้ส่วนตัว หรือถอนไปใช้จ่ายก็จะเป็นเงินก้อนใหญ่ๆ อันนี้ก็จะเป็นปัญหาหลัก

“แล้วก็อีกอันหนึ่ง”

คือเรื่องของเอาเงินของบริษัทไปใช้ส่วนตัวน่าจะเห็นเยอะนะคะเอาไปผ่อนบ้าน เอาไปจ่ายค่าเทอม หรือไปท่องเที่ยวนะคะ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวังเนื่องจากว่าพอเราจดเป็นรูปบริษัทแล้วการแยกกระเป๋าเงินระหว่างส่วนตัวกับบริษัทต้องแยกกันให้ชัดเจนด้วย

ไม่งั้นเรื่องการทำบัญชี หรือเรื่องของระบบงานเอกสารก็จะยุ่งเราก็ทำให้เป็นปัญหาในอนาคตพี่เก่งขอฝากไว้นะคะ แล้วก็อีกอันหนึ่ง คือเรื่องของเอกสารต่างๆ ในการลงบัญชีส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ค่อยให้ความสำคัญเนื่องจากก็จะบอกให้ไปที่แก้ปัญหาเองอันนี้ไม่ถูกนะคะธุรกิจของลูกค้า ของพวกเราทุกคนเป็นของพวกเรา นักบัญชีเป็นแค่เขามารับจ้างทำงานให้เรา เราต้องเข้าใจประเด็นนี้ด้วยว่าทุกอย่างเราต้องเตรียมเอกสาร เตรียมข้อมูลให้นักบัญชีให้เข้าใจ และก็ลงบันทึกบัญชีให้ถูกต้องจะทำให้งบของเราออกมาและถูกต้องและน่าเชื่อถือ

“ค่ะคำถามต่อมา”

คำถามที่ 4 น้องอีกท่านหนึ่งถามว่า

กรณีที่จดเป็นรูปบริษัท (การพิจารณา) เรื่องทุนจดทะเบียน เรื่องการชำระราคาค่าหุ้น, ราคาหุ้นมีกำหนดขั้นต่ำเท่าไหร่? หรือว่าสูงสุดเท่าไหร่?

พี่เก่งตอบคำถามนี้แบบนี้นะคะในกฎหมายของแพงและพาณิชย์ ได้กำหนดไว้ว่าราคาหุ้นของเรา ที่เราจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หุ้นขั้นต่ำอยู่ที่ 5 บาท ถ้าเราเป็นรูปบริษัทจำกัดที่เรายังไม่ได้ไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์นะคะราคาหุ้นต่ำสุดอยู่ที่ 5 บาท แล้วก้อราคาสูงสุดไม่มีกำหนดไว้ อันนี้ขึ้นอยู่ว่าจะตั้งราคาหุ้นเท่าไหร่ก็ได้ไม่มีกำหนดราคาสูงสุด

อย่างมีลูกค้าพี่เก่งรายหนึ่งนะคะ ก็น่ารักมากใช้กฎหมายตรงเปะ ในแง่ของกฎหมายบอกว่าให้จดจัดตั้งบริษัทให้มีผู้ถือหุ้น 3 คน แล้วก็ราคาหุ้นขั้นต่ำอยู่ที่ 5 บาท น้องบริษัทนี้ก็จดทะเบียนจัดตั้งด้วยผู้ถือหุ้น 3 คนค่ะแล้วก็ลงเงิน 5 บาท ต่อหุ้นนะคะก็เลยทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทนี้มีอยู่ที่ 15 บาท น้องก็สามารถจดจัดตั้งบริษัทและดำเนินธุรกิจได้ อันนี้ก็ทำถูกต้องตามกฎหมาย แต่ว่าในแง่ของการดำเนินธุรกิจจริงๆ เงิน 15 บาท ไม่สามารถจะรันธุรกิจได้นะคะ อันนี้ก็เป็นข้อมูลที่เล่าสู่กันฟังค่ะ

ที่นี้พี่เก่งก็ขอขยายความนิดหนึ่งนะคะในแง่ของทุนจดทะเบียนส่วนใหญ่พวกเราก็จะจดกันอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านบาท โดยที่อาจจะแบ่งหุ้นเป็นที่ 10,000 หุ้นก็หุ้นราคาหุ้นละ 100 บาท หรือว่าจะเป็น 1,000 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท อย่างนี้ก็ได้คือจำนวนหุ้นคูณราคาหุ้นต่อหน่วยให้ได้หนึ่งล้านบาทก็ได้นะคะถูกต้อง และเรื่องของการออกแบบดีไซน์ตรงนี้ผู้ถือหุ้นที่มาลงเงินกันก็ตกลงกันแล้วก็สรุปตัวเลขให้สำนักงานบัญชีเพื่อจะเอาไว้เป็นข้อมูลการจดทะเบียนนะคะ หรือถ้าน้องท่านไหนคิดไม่ออกที่เค้าใช้กันทั่วไปก็ได้ อันนี้ก็จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พี่เก่งได้อธิบายและก็แชร์กับผู้เข้าร่วมสัมมนา เมื่อวันที่ 11/06/2565 ที่ผ่านมา

พี่เก่งก็ขอสรุป คำถามคำตอบไว้ประมาณนี้นะคะ จัดสัมมนาครั้งต่อไปค่ะครั้งที่ 5 ก็จะจัดที่ชลบุรี (พัทยา)ประมาณวันที่ 5 ถึง 6 พฤษภาคม 2565 นะคะแล้วเดี๋ยวถ้ามีคำถามคำตอบที่พี่เก่งจะมาเล่าสู่กันฟังเหมือนเดิม วันนี้เก่งข้อสรุปไว้ประมาณนี้เดียวกันเจอกันในคลิปหน้าค่ะ ขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ

ปรึกษาเรื่องบัญชี ภาษี ติดต่อเรา

Mobile : 081-6487459
Tel : 02-563-6187-8 Fax : 02-563-6089
E-mail : surapa@greenproksp.com
LINE ID : @kengbunchee

Add Friend

สนใจคอร์สเรียนบัญชีภาษี

คอร์สเรียนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษีทั้งระบบ/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ขายสินค้าออนไลน์
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษี-ขายสินค้าออนไลน์/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (YouTuber)
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/วางแผนภาษี-ยูทูปเบอร์/

สอบถามรายละเอียดคอร์สเรียน

คลิกลิงก์ ✅ https://bit.ly/3abSY3j